วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สุขศึกษา งานที่ 2

1.ภูมิปัญญาไทย หมายถึง องค์ความรู้ ความสามารถและทักษะของคนไทยอันเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ที่ผ่านมากระบวนการเรียนรู้  เลือกสรร ปรุงแต่ง พัฒนาและถ่ายทอดสืบกันมา เพื่อใช้แก้ปัญหาและพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยให้สมดุลกับสภาพแวดล้อมและเหมาะสมกับยุคสมัย
ตัวอย่างภูมิปัญญาไทยที่ควรรู้
*ด้านภาษา และวรรณกรรม ได้แก่ สุภาษิต คำพังเพย เพลงพื้นบ้าน ปริศนาคำทายต่างๆ
*ด้านประเพณี ได้แก่ กิจกรรมที่เป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัว ชุมชน โดยการแสดงออกทางประเพณีพื้นบ้าน การละเล่นพื้นบ้านในท้องถิ่นต่างๆ เช่น การรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ การทำบุญในวันสำคัญทางศาสนา ประเพณีวันลอยกระทง วันเข้าพรรษา วันสงกรานต์ การละเล่นพื้นบ้านในแต่ละท้องถิ่น เช่น การระบำรำฟ้อนประเภทต่างๆ เซิ้ง กลองยาว เพลงอีแซว หมอลำ มโนราห์ ซึ่งแต่ละท้องถิ่นจะมีความแตกต่างกัน
*ด้านศิลปวัตถุและศิลปกรรม ได้แก่ จิตรกรรมฝาผนังตามวัดต่างๆ การทำเครื่องปั้นดินเผาไปแกะสลัก หนังตะลุง เป็นต้น
*ด้านการแต่งกาย ได้แก่ การทอผ้าไหม ทอผ้าฝ้าย ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นจะมีลักษณะและความสวยงามที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ
*ด้านอาหาร ได้แก่ การจัดประดับตกแต่งอาหารให้มีความสวยงาม ด้วยการแกะสลักด้วยความประณีต การจัดเลี้ยงอาหารแบบขันโตกของทางเหนือ ด้านอาหารที่ขึ้นชื่อของไทย คือ ต้มยำกุ้ง ผัดไทย แกงเลียง ข้าวยำปักษ์ใต้ ข้าวซอย ส้มตำ เป็นต้น
*ด้านเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำมาหากิน ได้แก่ การทำระหัดน้ำ การประดิษฐ์กระเดื่องสำหรับตำข้าว การทำเครื่องมือจับสัตว์ เช่น แห อวน ยอ เป็นต้น

2.ภูมิปัญญาไทยกับการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค
    - ความสำคัญของภูมิปัญญาไทยต่อการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชน
ทุกชุมชนมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ทั้งประเพณี วัฒนธรรม และวิถีการดำเนินชีวิตซึ่งเอกลักษณ์ดังกล่าวได้ดำเนินขึ้นและสืบทอดโดยคนรุ่นก่อนในชุมชนมีการสั่งสมภูมิปัญญาด้านต่างๆ และผ่านการพัฒนาใช้ให้สอดคล้องกับชีวิต สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรในชุมชน เช่น การแต่งกาย การรับประทานอาหาร การสร้างบ้านเรือน รวมถึงการดูแลรักษาสุขภาพและบำบัดโรค วิ่งผ่านการลองผิดลองถูกจนเกิดเป็นปัญญาในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของชุมชน ตัวอย่างเช่น การรับประทานผักเพื่อบำรุงร่างกาย การรักษาโรคด้วยสมุนไพร การนวดไทยเพื่อบำบัด บรรเทาการเจ็บป่วย การประคบสมุนไพรรักษาอาการปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก หรือการอยู่ไฟเพื่อส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพของผู้หญิงหลังคลอดบุตร เป็นต้นภูมิปัญญาไทยจึงมีความสำคัญต่อสุขภาพในเรื่องของการบำบัดบรรเทารักษาป้องกันโรคและการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง นอกจากภูมิปัญญาทางการแพทย์ของคนไทยจะช่วยส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดีแล้วยังช่วยลดปัญหาสาธารณะสุขของประเทศชาติได้ โดยช่วยรัฐบาลลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ลดการนำเข้ายารักษาโรค เวชภัณฑ์และเทคโนโลยีทางการแพทย์จากต่างประเทศที่เกินความจำเป็นให้ลดน้อยลง ซึ่งผลดีดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อคนไทยในชุมชนหรือท้องถิ่นต่างๆ รู้จักประยุกต์ใช้ธรรมชาติที่มีอยู่ในชุมชนของตนเองมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการรักษาดูแลสุขภาพ รวมถึงการพึ่งพาภูมิปัญญาของแพทย์ที่ถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษมาใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
3.แนวทางการใช้ภูมิปัญญาไทยเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชน
การแพทย์แผนไทย  ( Thai Traditional Medicine ) หมายถึง กระบวนการทางการแพทย์เกี่ยวกับการตรวจ วินิจฉัย บำบัด รักษา การป้องกันโรค หรือการฟื้นฟูสุขภาพ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับชุมชนของตัวเองได้ เช่น
*การนวดแผนไทย เป็นภูมิปัญญาในการรักษาโรค การนวดไทยแบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่                                                  1.การนวดแบบราชสำนัก     2.การนวดแบบเชลยศักดิ์               
*กระประคบสมุนไพร เป็นการใช้สมุนไพรในการฟื้นฟูสุขภาพโดยการนำสมุนไพรมาห่อและนำไปประคบบริเวณที่มีอาการปวดเมื่อย จะสามารถช่วยบรรเทาอาการได้
*น้ำสมุนไพร ผักพื้นบ้านและอาหารเพื่อสุขภาพ น้ำสมุนไพร และอาหารช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตแข็งแรงอยู่ในภาวะปกติ โดยเกิดจากความเฉลียวฉลาดของบรรพบุรุษ เช่น น้ำขิงช่วยในการขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
*การทำสมาธิ สวดมนต์ และภาวนาเพื่อการรักษาโรค เป็นวิถีชีวิต และความเชื่อ จัดว่าเป็นภูมิปัญญาทางการแพทย์แผนไทยซึ่งมีผลต่อสภาพจิตใจเป็นอย่างดี เพราะการนั่งสมาธิ สวดมนต์และการภาวนาช่วยให้มีจิตใจที่บริสุทธิ์ และทำให้จิตใจเกิดความสงบ
*กายบริหารแบบไทย หรือกายบริหารท่าฤาษีดัดตน เป็นภูมิปัญญาเกิดขึ้นจากการเล่าต่อๆกันมาของผู้ที่นิยมนั่งสมาธิ เมื่อปฏิบัติอย่างถูกต้องจะช่วยรักษาอาการปวดเมื่อย ทำให้เลือดหมุนเวียนได้ดี สร้างสมาธิ และผ่อนคลายความเครียดได้

วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ชื่อโครงการ ลดความอ้วนอย่างปลอดภัย

1.หลักการและเหตุผล
   เนื่องจากในปัจจุบันคนส่วนใหญ่ในสังคมมีปัญหาเกี่ยวกับโรคอ้วน ทั้งนี้ก็เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น พันธุกรรม สภาพสังคมและวัฒนธรรมซึ่งเกี่ยวข้อง กับการบริโภค ภาวะผิดปกติในร่างกาย หรือโรคบางชนิด เช่น Hypothyroidism,Cushing Syndrome ผลจากการใช้ยาบางประเภท ก็มีผลข้างเคียงให้อ้วนได้ เช่น ยาต้านการซึมเศร้า บางตัวเช่น Amitryotyline หรือยาต้านรักษาโรคจิตบางตัว เช่น(Chlorpromazine,Lithium) หรือพวก Corticosteroids (สเตียรอยด์) และ Cyproheptadine เป็นต้น และเพราะเหตุปัจจัยพวกนี้จึงทำให้มีผู้ประสบปัญหาอ้วนเป็นจำนวนมาก และไม่รู้จังวิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้อง จนทำให้เกิดผลเสียต่อบุคคลนั้น และสังคมเป็นอย่างมาก เช่น กินยาลดความอ้วนจนเป็นเหตุให้เสียชีวิตจนเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมอย่างหนึ่ง เป็นต้น ดังนั้นเราจึงควรที่จะจัดทำโครงการเพื่อช่วยเหลือบุคคลเหล่านี้ให้มีสุขภาพที่ดีและถูกหลักอนามัย
2.วัตถุประสงค์
1.เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ประสบปัญหาอ้วนให้มีทางออกในการแก้ปัญหาที่ดีและถูกต้อง
2.เพื่อให้ผู้ที่ประสบปัญหาสามารถแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็วและเห็นผลได้จริง
3.เพื่อช่วยลดจำนวนผู้ป่วยโรคอ้วน และโรคอื่นๆที่เป็นผลมาจากโรคอ้วน ในสังคมให้มีจำนวนลดลง
4.เพื่อลดปัญหาการเสียชีวิตเนื่องจากการลดความอ้วนโดยไม่ถูกวิธี ที่เป็นปัญหาใหญ่ของสังคมอย่างหนึ่ง
5.เพื่อปรับเปลี่ยนค่านิยมที่ผิดในการลดความอ้วน คือการกินยาลดความอ้วน
6.เพื่อให้ทุกคนในสังคมมีสุขภาพที่ดีและมีร่างกายที่แข็งแรง
3.กลุ่มเป้าหมาย
1.ผู้ที่มีภาวะอ้วน
2.ผู้ที่สนใจดูแลสุขภาพไม่ให้อ้วน
3.ผู้สูงอายุที่เป็นโรคอ้วน
4.บุคคลทุกเพศทุกวัยที่มีความสนใจที่จะลดความอ้วน
4.วิธีดำเนินการ
1.ตรวจสอบหาบุคคลที่เป็นโรคอ้วนในสังคม
2.สอบถามประวัติ และบันทึกข้อมูลการกิน และสาเหตุของความอ้วน
3.เสนอแนะวิธีการกินที่ถูกหลักอนามัย และเพื่อให้อยู่ในแบบแผนของโครงการต้องให้ผู้ที่เข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนพ ฤติกรรมการกิน โดยให้กินตามที่ทางเราได้กำหนด คือ กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นอาหารที่มีกากใย คือ ผัก ผลไม้ ลดอาหารพวกแป้งและของหวาน กินอาหารให้ตรงเวลา พักผ่อนให้เพียงพอ
4.ทุกเช้าและเย็นเข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกายที่ทางเราจัดให้เป็นเวลานาน 30 นาที
5.ทำอย่างนี้ติดต่อกันเป็นเวลา 1 เดือน แล้วบันทึกผลการเปลี่ยนแปลงทางสุขภาพร่างกาย
6.จัดให้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้จัดทำโครงการและผู้เข้าร่วมโครงการ หรือผู้ที่สนใจ และบันทึกข้อมูลของของแต่ละคนเพื่อนำไปเป็นแนวทางการปรับปรุงโครงการให้ดีขึ้นต่อไป
5.ระยะเวลาดำเนินการ  1 เดือน ตั้งแต่ วันที่1 - 31 สิงหาคม 2554
6.สถานที่ดำเนินการ  บ้านของแต่ละคน และลานกว้างในชุมชน
7.งบประมาณ  20,000 บาท
8.ผลที่คาดว่าจะได้รับ
คนที่ได้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่น้ำหนักลดลง และมีสุขภาพที่ดีขึ้น ทุกคนรู้จักวิธีการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง และผู้เสียชีวิตเนื่องจากลดความอ้วนด้วยวิธีผิดๆในสังคมมีจำนวนลดน้อยลง
9.ผู้รับผิดชอบโครงการ น.ส. จุฑาธิปดิ์  แสงใส

ผู้จัดทำโครงการ นางสาว จุฑาธิปดิ์ แสงใส ม.6/5 เลขที่ 34

ร่างกายของเรา

1.กระบวนการสร้างเสริม  และดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และระบบต่อมไร้ท่อ
   1.1ความสำคัญ และหลักการของกระบวนการสร้างเสริม และดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย
     มนุษย์จะดำรงอยู่ได้ด้วยการทำงานของอวัยวะต่างๆทั้งภายในและภายนอกร่างกาย ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องรักษาสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ โดยมีแนวทางในการปฏิบัติ ดังนี้ รักษาอนามัยส่วนบุคคล บริโภคอาหารให้ถูกต้องและเหมาะสม ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงอบายมุขและสิ่งเสพติดให้โทษ และตรวจเช็คร่างกายอย่างสม่ำเสมอ
   1.2 ระบบประสาท (Nervous system) คือ ระบบที่ประกอบด้วยสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาททั่วร่างกาย ซึ่งจะทำหน้าที่ร่วมกันในการควบคุมการทำงานและการรับความรู้สึกของอวัยวะทุกส่วน
    1.2.1 องค์ประกอบของระบบประสาท
      แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆคือ ระบบประสาทส่วนกลาง และระบบประสาทส่วนปลาย                                                  1.ระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system)  
  ระบบประสาทส่วนกลาง ประกอบด้วย สมอง(brain) และไขสันหลัง (spinal cord) ซึ่งเป็นศูนย์กลางควบคุมและประสานการทำงานของร่างกายทั้งหมด
  สมอง แบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆคือ สมองส่วนหน้า สมองส่วนกลาง และสมองส่วนท้าย
  1.สมองส่วนหน้า(forebrain) ประกอบด้วย ซีรีบรัม ทาลามัส ไฮโพทาลามัส
  2.สมองส่วนกลาง (midbrain) เป็นส่วนที่ต่อจากสมองส่วนหน้า ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลี่อนไหวของลูกตาและม่านตา
  3.สมองส่วนท้าย (hindbrain) ประกอบด้วย ซีรีเบลลัม พอนส์  เมดัลลา ออบลองกาตา
สมองส่วนกลาง พอนส์ และเมดัลลา ออบลองกาตา สมองทั้ง 3 ส่วนนี้รวมเรียกว่า ก้านสมอง (brain stem)
  ไขสันหลัง เป็นส่วนที่ต่อจากสมองลงไปตามแนวช่องกระดูกสันหลัง ไขสันหลังจะมีเยื่อหุ้ม 3 ชั้นทำหน้าที่รับกระแสประสาทจากส่วนต่างๆของร่างกายส่งต่อไปยังสมอง และรับกระแสประสาทตอบสนองจากสมองเพื่อส่งไปยังอวัยวะต่างๆของร่างกาย นอกจากนี้ยังควบคุมปฏิกิริยารีเฟลกซ์ (reflex  action) หรือ ปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่างกระทันหันโดยไม่ต้องรอคำสั่งจากสมอง
2.ระบบประสาทส่วนปลาย ( peripheral nervous system)
  ระบบประสาทส่วนปลาย ประกอบด้วย เส้นประสาทสมองมีอยู่ 12 คู่ เส้นประสาทไขสันหลังมีอยู่ 31 คู่ และประสาทระบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่นำความรู้สึกจากส่วนต่างๆของร่างกายเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลางไปยังอวัยวะปฏิบัติงาน
  1.2.2 การทำงานของระบบประสาท ระบบประสาทเป็นระบบที่ทำงานประสานกันกับระบบกล้ามเนื้อ นอกจากนั้นระบบประสาทยังรับกระแสประสาทจากอวัยวะภายในต่างๆและส่งคำสั่งกลับไปควบคุมการเต้นของหัวใจ ความดันเลือด อัตราการหายใจ อุณหภูมิในร่างกาย การย่อยอาหาร และระบบอื่นๆให้ทำงานตามปกติ
  1.2.3การบำรุงรักษาระบบประสาท ทำได้โดย ระวังไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือนบริเวณศีรษะ ระมัดระวังป้องกันไม่ให้เกิดโรคทางสมอง หลีกเลี่ยงยาชนิดต่างๆที่มีผลต่อสมอง พยายามผ่อนคลายความเครียด และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
 1.3 ระบบสืบพันธ์ (Reproductive system)
  1.3.1 อวัยวะสืบพันธ์เพสชาย ประกอบด้วย อัณฑะ ถุงหุ้มอัณฑะ หลอดเก็บตัวอสุจิ หลอดนำตัวอสุจิ ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ ต่อมลูกหมาก ต่อมคาวเปอร์
      โดยทั่วไปเพศชายจะเริ่มสร้างตัวอสุจิเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น คือ อายุประมาณ 12-13 ปี และจะสร้างไปจนตลอดชีวิต การหลั่งแต่ละครั้งจะมีขอเหลวประมาณ 3-4 ลูกบาศก์เซนติเมตร มีตัวอสุจิเฉลี่ยประมาณ 350-500 ล้านตัว ผู้ที่มีตัวอสุจิต่ำกว่า 30 ล้านตัวต่อลูกบาศก์เซนติเมตร หรือมีตัวอสุจิที่มีรูปร่างผิดปกติมากกว่าร้อยละ 25 จะมีโอกาสเป็นหมันได้
  1.3.2 อวัยวะสืบพันธ์เพศหญิง ประกอบด้วย รังไข่ ท่อนำไข่หรือปีกมดลูก มดลูก ช่องคลอด                                             การตกไข่ คือ การที่ไข่สุกและออกจากรังไข่เข้าสู่ท่อนำไข่ ในช่วงกึ่งกลางของรอบเดือน และประจำเดือน เกิดจากผนังมดลูกลอกตัวเมื่อไข่ไม่ได้รับการผสม เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติที่แสดงให้ทราบว่าเด็กหญิงนั้นได้เจริญเต็มที่พร้อมที่จะมีลูก
  1.3.3 การบำรุงรักษาระบบสืบพันธ์ ทำได้ดังนี้ ดูแลร่างกายให้แข็งแกร่งอยู่เสมอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ พักผ่อนให้เพียงพอ ทำความสะอาจร่างกายอย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอ สวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาจ ไม่ใช้เครื่องนุ่งห่มร่วมกับผู้อื่น ไม่สำส่อนทางเพศ และปรึกษาแพทย์เป็นประจำ
 1.4 ระบบต่อมไร้ท่อ (endocrine system)
   1.4.1 ต่อมไร้ท่อในร่างกาย มีดังนี้ ต่อมใต้สมอง ต่อมหมวกไต ต่อมไทรอยด์ ต่อมพาราไทรอยด์ ต่อมที่อยู่ในตับอ่อน รังไข่ และต่อมไทมัส
   1.4.2 การบำรุงรักษาระบบต่อมไร้ท่อ ทำได้โดย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอ ออกกำลังการสม่ำเสมอ ลดปริมาณเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงที่ที่มีอากาศไม่บริสุทธิ์ และพักผ่อนให้เพียงพอ